เดิมว่าจะเขียนประวัติศาสตร์ในแบบเดิมต่อ
แต่คิดว่าเนื้อหาของพุทธศาสนา ทั้งพุทธประวัติ
ตลอดถึงการเกิดขึ้นของพระไตรปิฎกหลังพุทธกาลจนมีการสังคายนาไปแล้วประมาณ 8 รุ่น (เมื่อนับที่เข้ามาในประเทศไทย เฉพาะฝ่ายหินยาน) ซึ่งชาวพุทธสามารถศึกษาได้ไม่ยาก จึงขอไม่กล่าวถึงรายละเอียด
ผมเพียงกระชับเหตุการณ์เข้ามาสู่ยุคของวิชชาธรรมกายเท่านั้น
ไม่ว่าเราจะเรียนรู้เรื่องใด
เราควรมีความเข้าใจประวัติศาสตร์ของเรื่องนั้นๆ ให้ถ่องแท้ หรือไม่ก็ ให้พอรับรู้ ถึงที่มาที่ไปของบัญญัติต่างๆ
หรือตำราต่างๆ ได้บ้าง
ศาสนาพุทธก็เช่นกัน เราต้องเรียนพุทธประวัติ ควบคู่ไปกับคำสอน
หากเราอ่านจากพระไตรปิฎกจะพบว่าทุกๆ เรื่องของวินัย และคำสอนทั้งปวง จะอ้างอิงเหตุการณ์สถานที่
ตัวละคร และบทสรุปต่างๆ สุดท้ายลงเอยที่พระพุทธองค์ทรงตัดสินอย่างไร
ทรงให้ข้อคิดคำสอนอย่างไร เป็นบัญญัติสุดท้ายเสมอ
เป็นที่น่าสังเกตว่า พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ากลับได้รับการรวบรวมเรียบเรียงหลังพระพุทธองค์ทรงปรินิพพานไปแล้ว
ไม่ได้เรียบเรียงไว้ก่อนตั้งแต่พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่
หากมีการเรียบเรียงไว้ก่อน ก็อาจมีการไต่ถามกล่อมเกลาจากพระพุทธองค์ได้
เราก็คงไม่ต้องพะวงถึงพระไตรปิฎกที่แตกแขนงออกมาเป็นฝ่ายหินยาน และมหายาน ตั้งแต่ยุคต้นๆ
หลังพุทธปรินิพพานใหม่ๆ กระมัง
การสืบทอดพระไตรปิฎกในช่วง 100-200 ปีแรก อาศัยการท่องจำสืบต่อกันมา
ที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” มาเริ่มจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างจริงจังในยุคพระเจ้าอโศก
แต่เดิมเราเข้าใจว่าการท่องจำเอา อาจมีความคลาดเคลื่อน แต่เมื่อดูจากความรู้คุณลุง
ไม่ได้มีความเห็นเช่นนั้น ความคลาดเคลื่อนในยุคนั้นสามารถเกิดได้จากการสืบรู้สืบญาณเข้าไปถามความรู้ได้ไม่กี่นิพพาน
และยังได้รับคำตอบที่ไม่ชัดเจนมากกว่า ซึ่งเราต้องมาเรียนรู้กันอีกที
พระไตรปิฎกที่สืบทอดมาทางประเทศไทยเป็นฝ่ายหินยาน ผมจำง่ายๆ
ว่าเป็นฝ่ายที่รักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิมไว้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นวัตรปฏิบัติ
การแต่งกาย ฯลฯ แต่ทางฝ่ายมหายาน จะยืดหยุ่นกว่า
อาจมีการเปลี่ยนแปลงวัตรปฏิบัติบางอย่างให้เข้ากับยุคสมัย
เพราะพระพุทธองค์ทรงอนุญาตไว้
เพียงแต่ไม่ได้บอกกฏเกณฑ์หรือรายละเอียดว่าจะเปลี่ยนแปลงตอนใดได้บ้างเท่านั้น
จึงมีความเห็นแตกเป็น 2 ฝ่ายหลังพุทธปรินิพพาน
การศึกษาพุทธศาสนา หากเรามีโอกาส เราก็น่าจะรับรู้ความรู้ของทั้ง 2 ฝ่ายไว้บ้าง เพราะแตกแขนงมาจากที่เดียวกัน
ผมเกริ่นมาถึงตอนนี้ เพื่อชี้นำเข้าสู่วิชชาธรรมกาย
ซึ่งมีการกล่าวถึงไว้ค่อนข้างมากในคัมภีร์ฝ่ายมหายาน มีการเน้นเรื่องภพภูมิ
และเรื่องกายที่สัมพันธ์ต่อกัน โดยเราอาจเห็นสิ่งปลูกสร้างที่สื่อออกมาได้ เช่น
บุโรพุทโธ เป็นต้น
วิชชาธรรมกาย มีการปฎิบัติสืบเนื่องหลังพุทธปรินิพพานได้ 500 ปี
จากนั้นไม่มีผู้ปฎิบัติต่อ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี
มาค้นพบกลับคืนได้ในยุคของท่านเมื่อปี พ.ศ.2460 และมีผู้ปฏิบัติสืบต่อกันมาในยุคใหม่
มีการค้นคว้าความรู้ต่อยอดเพิ่มเติมมาตั้งแต่ยุคของหลวงพ่อ ซึ่งแต่เดิมค้นวิชชาได้ 1 ดวงธรรม 5 กาย มาเป็น 3 ดวงธรรม และ 6 ดวงธรรม และค้นกายได้ถึง 18 กาย
ในยุคไม่ถึง 10 ปี ก่อนหลวงพ่อมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2502
มีตำราในยุคหลวงพ่อที่เผยแพร่ชัดเจนจริงๆ คือ
1. วิชชา 18 กาย เป็นพื้นฐาน
2. คู่มือสมภาร วิชชาชั้นสูง
3. คู่มือมรรคผลพิสดาร 1 วิชชาชั้นสูง
4. คู่มือมรรคผลพิสดาร 2 วิชชาชั้นสูง
5. ตำราปราบมาร ไม่ได้ทำเป็นตำราไว้อย่างชัดเจน แต่เป็นการบอกเล่ากันในหมู่ผู้เดินวิชชาในโรงงาน และมีการจดบันทึกเป็นหมายเหตุไว้บ้างเท่านั้น
1. วิชชา 18 กาย เป็นพื้นฐาน
2. คู่มือสมภาร วิชชาชั้นสูง
3. คู่มือมรรคผลพิสดาร 1 วิชชาชั้นสูง
4. คู่มือมรรคผลพิสดาร 2 วิชชาชั้นสูง
5. ตำราปราบมาร ไม่ได้ทำเป็นตำราไว้อย่างชัดเจน แต่เป็นการบอกเล่ากันในหมู่ผู้เดินวิชชาในโรงงาน และมีการจดบันทึกเป็นหมายเหตุไว้บ้างเท่านั้น
สิ่งที่ผมอยากเน้นในตอนนี้ก็คือ วิชชาทั้งหลายทั้งปวงไม่ว่าในทางโลกหรือในทางธรรม
ยังต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอ แม้วิชชาในพุทธศาสนาก็ตาม
อันนี้อาจไม่ตรงกับความเข้าใจของหลายๆ ท่าน
ที่มีความเชื่อว่าวิชชาในพุทธศาสนาซึ่งเป็นเรื่องของนามธรรม เรื่องของจิตวิญญาณ
น่าจะเป็นวิชชาที่เบ็ดเสร็จ เป็น Absolute truth ที่ไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใดใดอีกแล้ว
ผมคงไม่เถียงท่าน แต่ขอให้ท่านพยายามทำความเข้าใจเสียใหม่ เพราะส่วนใหญ่เราเถียงกันมาก่อนแล้ว
แม้เรื่องของสภาพนิพพาน ก็เข้าใจไม่ตรงกันเสียแล้ว เพราะหากเชื่อว่าความหลุดพ้นสุดท้าย (นิพพาน) คือความว่างเปล่า เราก็ไม่ต้องต่อยอดในวิชชาอะไรอีก เพราะไม่มีตัวตนให้ต่อยอด
แต่หากเชื่อว่าอมตสุขในนิพพานมีภพมีภูมิอยู่จริง การเรียนรู้ในระดับนิพพานก็น่าจะยังมีอยู่ต่อไป
การเข้านิพพานจะเป็นเพียงการสอบผ่านเข้าไป เหมือนเราสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้
และไปเรียนรู้ต่อในอีกระดับหนึ่ง
อีกเรื่องหนึ่งก็คือ คำว่าวิชชาชั้นสูงนั้น มันมียุคสมัย
หากเราไปเจอตำราที่กล่าวว่าเป็นวิชชาชั้นสูง เราดีใจ เริ่มเปิดอ่านและเริ่มปฏิบัติไปตั้งแต่หน้าแรกจนจบ
แต่พบว่าเป็นวิชชาที่เขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2492 เราจะมีความคิดเห็นอย่างไร? จริงๆ
แล้วเราก็ควรรับรู้ที่มาที่ไปของตำราด้วย เราควรศึกษาให้เข้าใจว่านี่เป็นความรู้ชั้นสูงของปี 2492 ซึ่งขณะนั้นค้นพบดวงธรรมได้ 3 ดวง และพบกายได้ 5 กายเท่านั้น
การเดินวิชชาให้ละเอียดอาศัยการทำฌานสมาบัติเป็นหลัก
ปัจจุบันเรายังใช้วิธีนี้อยู่หรือเปล่า หากเราจะเอาวิชชาที่เรียนรู้ในยุคนั้นมาใช้
เราควรปรับแต่งอย่างไรหรือไม่? เหมือนหมอจะเอาวิชชาแพทย์ชั้นสูงในยุค 2492 มารักษาเรา เราจะว่าอย่างไร?
ประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญกับทุกแขนงวิชา โดยเหตุที่กล่าวมา นั่นเอง