คนเหมือนกัน แต่ไม่เหมือนกัน ธรรมกายเหมือนกัน แต่ไม่เหมือนกัน
คน เราตัองแยกแยะคนดี คนเลว เพื่อการบริหารจัดการที่เหมาะสม หากเราจดจำเรื่องมงคลชีวิตได้ เราจะเห็นว่า ท่านแบ่งคนเป็น 2 ประเภทตามความดีความเลว คนดีจำแนกเป็น บัณฑิต เราควร "คบ" พหูสูตร เราควรเป็นเสียเอง บุคคลที่ควรบูชา ก็บูชาท่านซะ พ่อแม่ ก็ปรนนิบัติตอบแทนท่าน สามีภรรยา ก็ทำหน้าที่ตนไป แต่คนเลว จำแนกไว้เพียง "คนพาล" เท่านั้น และไม่ได้แยกแยะรายละเอียดมากมาย การบริหารจัดการ คือ "ไม่คบ" เท่านั้นเอง การไม่คบ เป็นการบริหารจัดการที่เพียงพอกับคนพาลหรือไม่ มันทำให้คนพาลได้คิดหรือไม่ว่า เขาไม่ควรมาพาลกับเรา เพราะเราเป็นคนแสนดี ทำอย่างไร เราก็เพียงแต่เฉยๆ ไม่พาลตอบ เอ ถ้าเขาคิดได้อย่างนี้ เขาก็ไม่ใช่คนพาลน่ะซี
เราจะเห็นได้ว่า เราค่อนข้างเข้มงวดในฝั่งที่เป็นบ้านของเราเอง แต่เราไม่สามารถจัดการกับสิ่งที่มาล่วงล้ำบ้านของเราได้สักเท่าไหร่ แสดงถึงอะไร ผมขอทิ้งประเด็นนี้ไว้ตรงนี้ก่อน แน่นอน การบริหารจัดการด้วยการอันธพาลตอบโดยการใช้ภาษาเดียวกับเขา เราก็กลายเป็นคนพาลแบบเขาไปด้วย ผมต้องการสื่อเพียงว่า แม้วิธีการที่เราฝ่ายพระทำๆ กันมา ก็ไม่เคยชนะคนพาลเลย ตรงกันข้าม เขากลับกำเริบเสิบสานยิ่งใหญ่มากขึ้นทุกวัน การต่อสู้ของเราจึงไม่ควรถึงทางตันด้วยการนิ่งเฉยอยู่ร่ำไป
เราควรทำอย่างไร การตอบโต้จึงจะเป็นไปโดยวิธีการของภาคขาว แต่ไม่ใช่การปล่อยผู้รุกรานให้มาฉกฉวยอะไรจากเราไปเฉยๆโดยไม่ทำอะไรเลย บอกได้แต่เพียงว่านี่คือการข่มใจ หรือบอกได้แต่ว่านี่คือวิธีการของพระ เท่านั้น
แม้สัตว์เดียรัจฉาน ก็มีดี มีเลว สัตว์ที่ดีมีประโยชน์เราเลี้ยงไว้ สัตว์ที่ ทำอย่างไรก็ดีไม่ได้ เราไม่คบ ถ้าเขาไม่มาก้าวก่ายถิ่นที่อยู่ของเรา เราก็เฉยกัน ไม่คบกัน ไม่เบียดเบียนกัน แต่เพียงการไม่คบ ก็อาจมีสัตว์บางอย่างบุกรุกมาหาเราเองก็ได้ เช่นยุงหลงเข้ามาในบ้านทั้งฝูง เราจะทำอย่างไร ผมเคยเขียนไว้ในบทความ ไม่ฆ่าสัตว์ แล้ว โปรดอ่านดู