Pages

Wednesday, June 20, 2012

อภัยทาน 3


ผมยังใช้หัวข้อของ "อภัยทาน" เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ตอนนี้เราคุยต่อ

จากภาค 2 เราเข้าใจเรื่องอภัยทานมากขึ้นแล้ว หากเรานำแผนภาพในภาค 2 กลับมาใช้กับอามิสทาน และวิทยาทาน (หรือ ธรรมทาน) จะเป็นรูปร่างคล้ายกันดังนี้


กำหนดให้ A เป็นผู้ให้ ที่จะให้อามิสทาน หรือวิทยาทานต่อ B

X คือวัตถุทานที่เป็นส่วนผสมของสิ่งของที่จะให้ หรือความรู้ที่จะให้ กับอารมณ์ความเสียดายที่ A ปรุงแต่งเสริมขึ้นมา (F) นั่นคือ X=T+F เป็นสมการทางคณิตศาสตร์ อีกเช่นกัน

จะเห็นได้ชัดเจนว่า เรื่องของทาน มีใจ (F) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย นี่แหละใจจึงเป็นใหญ่ ใจจึงเป็นประธานในการกระทำทุกอย่าง การให้ทานต้องยอมสละอารมณ์ออกไป ไม่มากก็น้อย อามิสทานต้องเสียสละความเสียดายสิ่งของ เสียดายเงินทองที่เราเพียรหามา วิทยาทานก็เสียสละความเสียดายความหวงแหนความรู้ที่เราพากเพียรเรียนมา แม้ความรู้ไม่ได้หมดไปจากเรา แต่มันก็มีอารมณ์ที่ว่า สมัยเรากว่าจะได้ความรู้นี้ ยากลำบากยิ่งนัก แต่นาย B ไม่ต้องลำบากแบบเรา เราสอนให้ ก็ได้ความรู้ของเราไปเลย

ส่วนอภัยทานต้องสละอารมณ์ขุ่นมัวออกไป อามิสทานและวิทยาทานก็ต้องสละความเสียดายออกไป ความยิ่งใหญ่ของทานจึงมีส่วนของใจมาประกอบอยู่ไม่ใช่น้อย มหาทานบารมีที่พระเวสสันดรบำเพ็ญ อาศัยความเสียสละแบบโพธิสัตว์ ที่ยึด 5 วลีที่ว่า ต้อง ให้ ได้ ทุก อย่าง มีการสละลูกเมียเป็นทาน ซึ่งจะต้องเอาชนะความหวงแหนอย่างที่สุดจึงจะทำได้

เรื่องที่อยากคุยต่อในภาคอภัยทานจริงๆ ยังไม่จบ ตอนนี้เป็นเพียงดึงความเกี่ยวข้องของทานอีก 2 อย่างเข้ามาพิจารณา เอาไว้คราวหน้าค่อยคุยต่อครับ