Pages

Tuesday, August 3, 2010

กาลามสูตร

วันนี้ขอคุยเรื่องกาลามสูตรในเชิงประสบการณ์ของผม ซึ่งผมเห็นว่าหลักกาลามสูตร เป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้ศึกษาไม่ว่าในทางโลก หรือทางธรรม หลักกาลามสูตรสอนให้เราวางใจเป็นกลางไว้ก่อน แล้วรับฟังข้อมูลให้ชัดเจน จึงจะปลงใจเชื่อ

กาลามสูตร คืออะไร? ผมอยากให้ดูข้อมูลบางส่วนจาก Website นี้

http://www.dopa.go.th/religion/tammar.html

ดังนี้

สิ่งที่ไม่ควรเชื่อ 10 ประการ

พระพุทธเจ้าแทนที่จะตรัสเหมือนกับสมณพราหมณ์เหล่าอื่นที่เคยพูดมาแล้ว พระองค์ไม่ได้ทรงสรรเสริญคำสอนของพระองค์ และก็ไม่ทรงติเตียนคำสอนศาสนาของผู้อื่นแต่พระองค์กลับตรัสอีกแบบหนึ่ง การพูดแบบนี้เป็นลักษณะของวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน คือพระองค์ได้กล่าวถึงสิ่งที่ไม่ควรเชื่อ 10 ประการโดยตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงฟัง

http://www.dopa.go.th/religion/image/bb.gif มา อนุสฺสวเนน
อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
http://www.dopa.go.th/religion/image/bb.gif มา ปรมฺปราย
อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา
http://www.dopa.go.th/religion/image/bb.gif มา อิติกิราย
อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
http://www.dopa.go.th/religion/image/bb.gif มา ปิฏกสมฺปทาเนน
อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา
http://www.dopa.go.th/religion/image/bb.gif มา ตกฺกเหตุ
อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง
http://www.dopa.go.th/religion/image/bb.gif มา นยเหตุ
อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา
http://www.dopa.go.th/religion/image/bb.gif มา อาการปริวิตกฺเกน
อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ
http://www.dopa.go.th/religion/image/bb.gif มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา
อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน
http://www.dopa.go.th/religion/image/bb.gif มา ภพฺพรูปตา
อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้
http://www.dopa.go.th/religion/image/bb.gif มา สมโณ โน ครูติ
อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา

http://www.dopa.go.th/religion/image/bb.gif
สรุปแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่าเพิ่งเชื่อ เพราะเหตุ 10 ประการนี้

ข้อความประเภทนี้ตรงกับกฎทางวิทยาศาสตร์ เพราะนักวิทยาศาสตร์จะไม่เชื่อถ้าเขายังไม่ได้ ทดสอบหรือพิจารณาเหตุผลให้ปรากฏก่อน และข้อความเช่นนี้ไปตรงกันได้อย่างไรในข้อที่ไม่ให้เชื่อเพราะเหตุ เหล่านี้ ถ้าเช่นนั้นแล้ว เราควรจะเชื่อแบบใดเมื่อปฏิเสธไปหมดเลยทั้ง 10 ข้อ และเราควรจะเชื่ออะไรได้บ้าง

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของเหตุและผล ไม่โจมตีศาสนา ไม่โจมตีผู้ใด
ชี้แต่เหตุและผลที่ยกขึ้นมา อธิบายเท่านั้น

พระพุทธวจนะทั้ง 10 ประการข้างต้นนั้น ท่านทั้งหลายฟังดูแล้วอาจคิดว่า ถ้าใครถือตามแบบ นี้ทั้งหมดก็มองดูว่าน่าจะเป็นมิจฉาทิฎฐิ คือ ไม่เชื่ออะไรเลย แม้แต่ครูของตนเอง แม้แต่พระไตรปิฎกก็ไม่ให้เชื่อ พิจารณาดูแล้ว น่าจะเป็นมิจฉาทิฎฐิ
แต่ก็ไม่ใช่

คำว่า "มา" อันเป็นคำบาลีในพระสูตรนี้ เป็นการปฏิเสธมีความหมายเท่ากับ No หรือ นะ คือ อย่า แต่โบราณาจารย์กล่าวว่า ถ้าแปลว่า อย่าเชื่อ เป็นการแปลที่ค่อนข้างจะแข็งไปควรแปลว่า"อย่าเพิ่งเชื่อ" คือให้ ฟังไว้ก่อน สำนวนนี้ ได้แก่สำนวนแปลของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) วัดเทพศิรินทราวาส นักปราชญ์ รูปหนึ่งในยุครัตนโกสินทร์ แต่บางอาจารย์ให้แปลว่า"อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ" แต่บางท่านแปลตามศัพท์ว่า "อย่าเชื่อ" ดังนั้น การแปลในปัจจุบันนี้จึงมีอยู่ 3 แบบคือ

1. อย่าเชื่อ

2. อย่าเพิ่งเชื่อ

3. อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ

การแปลว่า "อย่าเชื่อ" นั้น เป็นการแปลที่ค่อนข้างจะแข็งเป็นการไม่ค่อยยอมกัน ส่วนการ แปลอีก 2 อย่างนั้น คือ "อย่าเพิ่งเชื่อ" และ "อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ" นั้นก็มีความหมายเหมือนกันแต่คำว่า "อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ"นั้นเป็นสำนวนแปล
ที่ค่อนข้างยาว ดังนั้น คำว่า
"อย่าเพิ่งเชื่อ" เป็นสำนวนที่สั้นกว่า ง่ายกว่าและเข้าใจได้ดีกว่า ฉะนั้น การที่จะแปลให้ฟังง่ายและเหมาะสมก็ต้องแปลว่า "อย่าเพิ่งเชื่อ"

เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ใครจะพูดก็พูดไปเราก็ฟังไป อย่าไปว่าหรือค้านเขา แต่อย่าเพิ่งเชื่อ ต้องพิจารณาดูก่อนว่าถูกหรือผิด เป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ เป็นบุญหรือเป็นบาป เป็นไปเพื่อประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์

หากจะดูรายละเอียด ให้ไปดูใน Website ที่ผมได้อ้างอิงไว้นะครับ แต่ผมจะกล่าวในส่วนที่เป็นประสบการณ์ของเรา ดังนี้

มา อนุสฺสวเนน

มา ปรมฺปราย

มา อิติกิราย

อยู่ในกลุ่มใกล้เคียงกัน คือ อย่าเพิ่งเชื่อโดย ฟังตามกันมา เป็นของเก่าเล่าสืบกันมา เป็นนิยายปรัมปรา เป็นข่าวเล่าลือ

กลุ่มนี้ คงไม่ยากสำหรับเรา มันคงเป็นหลักสถิติที่คนก่อนหน้าจดจำบันทึกไว้ สังเกตผลอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง จึงเล่าต่อๆ กัน แต่ทั้งนี้ เราย่อมทราบดีว่า มันมีความเพี้ยนเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ ความรู้ของผู้ที่ประสบกับเหตุอันนั้น การส่งต่อข้อมูลข่าวสาร ความเพี้ยนจากช่วงเวลาที่ยาวนาน จากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป จากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากวัฒนธรรมที่แตกต่าง ฯลฯ

มา ปิฏกสมฺปทาเนน

อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา อันนี้สำคัญ บางทีผู้พูดอยากให้คนเชื่อ ก็อ้างว่าเอามาจากตำรา หรือตำราท่านว่าไว้ หรือใช้คำรวมๆ ว่า ปู่ย่าตายายท่านว่าไว้ ครูบาอาจารย์ท่านว่าไว้ พอเอาเข้าจริง บางทีเป็นการหลอกลวงยกเมฆ สืบไปสืบมาตำรานั้นไม่มี

บางที ตำรามี แต่เป็นตำราที่ใช้อ้างอิงไม่ได้ ไม่ใช่หลักสูตร ไม่เป็นที่ยอมรับ แต่ท่านเอามาอ้าง ตัวอย่างเช่น หากท่านจะอ้างวิชชาธรรมกาย ท่านต้องอ้างอิงหลวงพ่อวัดปากน้ำก่อน เรามักได้รับคำถามเสมอว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำเขียนตำราวิชชาธรรมกายไว้กี่เล่ม อะไรบ้าง เป็นพื้นฐานไว้ก่อน

ตำรามี ใช้อ้างอิงได้ แต่ผู้อ้างอิงเข้าใจความรู้ผิด หรือเอามาอ้างอิงเฉพาะบางส่วนที่ถูกกับความเห็นของตน

ทุกอย่าง มี อ่อนแก่ หยาบละเอียด อดีตปัจจุบันอนาคต บางครั้งตำราเขียนไว้นานแล้ว เป็นความรู้เก่า ปัจจุบันความรู้นี้ใช้ไม่ได้แล้ว อนาคตไม่แน่ อาจเอาความรู้เก่ามาใช้ได้อีก หรือผสมผสานความรู้ต่อยอดขึ้นไปก็ได้ แม้ในธาตุในธรรม ก็มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธตลอดเวลา อย่ายึดมั่นอะไรตายตัว

มา ตกฺกเหตุ

มา นยเหตุ

มา อาการปริวิตกฺเกน

อย่าเพิ่งเชื่อ โดยคาดเดาเอาเอง โดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา โดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ

อันนี้ขึ้นกับพื้นฐานความรู้ของแต่ละบุคคล เรารู้เท่าทันขนาดไหน เรื่องของอดีตปัจจุบันอนาคตมีส่วนอยู่ไม่ใช่น้อย แต่ก่อนเคยใช้เหตุผลนี้ได้ ปัจจุบันใช้ไม่ได้แล้ว

ผมขอยกตัวอย่างเชิงตรรก ดังนี้

มารส่งโรค เพราะฉะนั้น ใครแก้โรคได้ คนนั้นเป็นพระ ใช่หรือไม่?

คำตอบ คือ แต่ก่อนใช่ แต่เมื่อมีการแก้หมาก หลอกลวงกันมากขึ้น เกิดสำนักแก้โรคเลียนแบบพระขึ้นมากมาย ผู้แก้โรค อาจเป็นพวกเดียวกับคนส่งโรค เพื่อลวงให้ผู้คนเข้าใจผิด หลงเข้ามามีความเชื่อแบบที่ตนต้องการ และได้ประโยชน์ต่อเนื่องจากศรัทธาของคนเหล่านั้น

มารปิดไม่ให้เห็นธรรม ใครเปิดดวงธรรม คนนั้นเป็นพระ(พุทธเจ้า) ใช่หรือไม่?

ตอบกันเอาเอง

มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา

อย่าเพิ่งเชื่อเพราะต้องกับความเห็นของตน

เราอาจมีความประทับใจกับอะไรมาก่อน หรือเคยถูกหลอกจนเข้าใจผิดมานาน เช่นเคยได้ยินจากวัดที่เคยไปทำบุญว่า คนเป็นธรรมกายต้องสำรวม เรียบร้อย มีความสุขในธรรมะที่ตนเห็น เขาจะนั่งสมาธิได้ทน และนานโดยไม่เบื่อ เราเคยเข้าใจอย่างนี้ พอเราเห็นใครๆ ที่อ้างว่าเขาเป็นธรรมกายแล้ว เราตรวจสอบโดยความรู้ที่เราเข้าใจ(ผิด)มาก่อน แล้วไม่ตรงตามความเห็นของเรา เราก็เลยเชื่อว่าเขาไม่เป็นธรรมกาย เราก็พลาดความรู้จากที่อื่นที่อาจถูกต้องกว่า

มา ภพฺพรูปตา

มา สมโณ โน ครูติ

อย่าเพิ่งเชื่อ ว่าผู้พูดควรเชื่อได้ ว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา

โลกมนุษย์เป็นโลกของความสับสน ยังตกอยู่ในไตรลักษณ์ และมีความไม่ชัดเจนอยู่รอบตัวเรา ผู้ที่เป็นครูบาอาจารย์ที่ท่านยังครองกายมนุษย์แบบเรา ท่านก็มีความเข้าใจผิด หรือพลาดพลั้งได้ เรายกท่านในฐานะครู แต่ไม่ใช่ว่าท่านพูดแล้วจะต้องถูกทุกอย่าง แม้ท่านจะถูกมาตลอด 99.99% ก็ตาม ครูของผมท่านเคยพูดไว้หลายหนว่า อย่ายึดมั่นถือมั่นในตัว (กายมนุษย์ของ) ครู

มาถึงตรงนี้ เราจะเชื่อในอะไรดีเล่า น่าสับสน แต่โลกมันก็เป็นของมันอย่างนี้ เรารู้เท่าทันแล้ว เราคงต้องพึ่งตัวเราเอง การตัดสินใจเชื่อในอะไร เรามีความรู้และความระมัดระวังอย่างที่สุดแล้ว ทั้งนี้ก็ยังอาจพลาดได้ ตราบใดที่ความเป็นไตรลักษณ์ทั้งปวงยังปรากฏให้เห็นในโลกมนุษย์ที่เราอยู่ทุกวันนี้