Pages

Wednesday, August 11, 2010

ความเชื่อของพุทธศาสนิกชน

ความเชื่อของพุทธศาสนิกชน มีอยู่ 3 แบบใหญ่ๆ คือ


แบบที่ 1 คือความเชื่อมั่นในไตรลักษณ์ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นคือความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ความไม่มีตัวตน ในสิ่งทั้งปวง จุดสุดท้ายคือไม่เห็นอะไรเป็นตัวเป็นตนเลย จนถือความว่างจากสิ่งทั้งปวงเป็นสรณะ
ความเห็นของผมคือ ความเชื่อแบบนี้ เป็นความเชื่อที่สุดโต่งไปในทางยอมรับทุกข์สมุทัย เพราะยังแก้ทุกข์สมุทัยไม่ได้ ทำอย่างไรก็แก้ไม่ได้ มองไปทางไหนก็เห็นแต่ความเป็นไตรลักษณ์ จึงยอมรับมันซะเลย จะได้ทุกข์น้อยลง เปรียบเหมือนประเทศราชที่ยอมผู้ปกครองทุกอย่าง

แบบที่ 2 คือเชื่อมั่นในกฏแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม บางท่านสุดโต่งเกินไปถึงขนาดแก้ไขอะไรแทบไม่ได้ โดยเฉพาะมีความเชื่อว่าเราเวียนว่ายตายเกิดมานับภพนับชาติไม่ถ้วน สร้างกรรมทั้งดีและไม่ดีมามากมายก่ายกองจนมาเกิดในชาติปัจจุบันนี้ เราจะเป็นอย่างไร มันเป็นเวรเป็นกรรมมาแต่อดีตชาติที่สั่งสมมานานเหลือคณานับ ดิ้นรนไปก็เท่านั้น ปล่อยไปตามบุญตามกรรม
ความเห็นของผมคือ ความเชื่อนี้ ถูกในบางส่วน แต่ไม่กระตุ้นให้คนแก้ไขปรับปรุงตัวเอง หากไม่มีความรู้เพิ่มเติมเพราะเชื่อว่าการกระทำในปัจจุบันชาติมีผลเพียงน้อยนิด หากเราจะเติมความรู้เรื่องกรรมที่ให้ผลรุนแรง 4 ระดับ คือ อนันตริยกรรม ครุกรรม อาสันนกรรม อาจิณกรรม เข้ามาและวางแผนทำครุกรรมในทางดี ก็น่าจะเชื่อว่าเราแก้กรรมเก่าได้ ขอหมายเหตุไว้ว่า การสอนเรื่องกฏแห่งกรรม เป็นการสอนที่พระพุทธองค์ถูกภาคมารบังคับไว้ หลังตรัสรู้ใหม่ๆ

แบบที่ 3 คือ เชื่อมั่นในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เชื่อว่าการกระทำทั้งปวงก่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์เป็นลำดับไป ไม่ว่าในทางดีหรือทางชั่ว และเมื่อเข้าถึงภาคปฏิบัติ เราสามารถเข้าถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในระดับธาตุธรรมที่สูงขึ้นๆ และเกิดความรู้ถึงที่มาที่ไปของโลกภายในตัวและนอกตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ เราจะเห็นเหตุในเหตุที่ส่งทุกข์สมุทัย และปิฎกที่มาบังคับใจสัตว์โลก และหาทางแก้ไข
นี่เป็นความเชื่อของวิชชาธรรมกาย ที่ดูละม้ายคล้ายกับความเชื่อเรื่องเทพเจ้าในอดีต หากสุดโต่งก็เป็นความงมงาย ผมไม่ใช้คำว่าต่อยอดเพราะวิชชาธรรมกายเป็นวิชชาในพุทธศาสนา ที่ผมถือว่าสูงส่ง หากใครเรียนวิชชาธรรมกายแล้ว ไม่กล้าพูดว่าวิชชาธรรมกายคือทั้งหมดของพุทธศาสนา แสดงว่าความรู้ยังน้อยไป นี่เป็นความเห็นส่วนตัวของผมครับ