Pages

Wednesday, September 7, 2011

วิชชาธรรมกาย กับคณิตศาสตร์ (3)


ตอนนี้ ขอคุยไปเรื่อยๆ ต่อยอดจากพื้นฐานที่ได้คุยไว้เมื่อ 2 ตอนที่แล้ว การต่อยอดต้องระวังความเพี้ยน ความเฝือไว้ด้วยเสมอ สำหรับผม จะอ้างอิงความรู้จากตำราที่อ้างอิงได้ แต่บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่เคยคุยส่วนตัวกับครูบาอาจารย์ ซึ่งครูของเรา ก็คือคุณลุง ท่านย้ำเสมอว่า เราจะรู้กันแค่ 2 คนไม่ได้ หมอต้องเอาไปพูดในที่ประชุม ผมจึงถือโอกาสใช้ blog นี้เป็นเครื่องมือสื่อสารอันหนึ่ง


ข้อ 1 เรื่องแกน X กับแกน Y


คุณลุงเคยถามผมเป็นการส่วนตัวว่า ทำอย่างไร เราจึงจะเอากำเนิดทั้ง 3 มาเดินวิชชาให้ครบ ให้ผมไปค้นคว้ามาเป็นการบ้าน

ภายหลังผมตอบคุณลุงไป 2 นัย ดังนี้

นัยที่ 1 มีความรู้ปรากฏอยู่ในมรรคผล 1 บทท้ายๆ เรื่องการถอยพืด เป็นการซ้อนสับกำเนิดเดิมทั้ง 3 ในตัวเรา คือทำไปทั้งอนุโลมและปฏิโลม เป็นการดึงกำเนิดเดิมทั้งหมดเข้ามาอยู่ในศูนย์ของเรา จากนั้นเราจึงเดินวิชชา 18 กาย คุณลุงรับรองความรู้นี้แล้ว

นัยที่ 2 ผมตอบคุณลุงทางโทรศัพท์ คือ ก่อนเดินดวงธรรมของกายมนุษย์หยาบ ให้อธิษฐานเอากายมนุษย์ของเราทุกกาลเวลา มาเดินวิชชา 18 กายด้วยกันกับเรา คุณลุงก็รับรองคำตอบข้อนี้ และชื่นชมว่ากว่าความรู้แต่ละอย่างจะเกิดขึ้น ใช้เวลาเนิ่นนานเหลือเกิน หมอค้นพบได้ จะทำให้กายของเราแข็งแรงขึ้น

ผมจะคุยตรงนัยที่ 2 นี่แหละ

หากเราเลื่อนจุด O ไปตามแกน X ที่เป็นกำเนิดเดิมของเรา เลื่อนมาทางซ้ายไปหากำเนิดที่เป็นต้นมากขึ้น คล้ายเราทำวิชชาปุพเพนิวาสญาณ ไปหยุดที่กำเนิดต้นที่อายุประมาณ 7 ขวบ มีอะไรน่าคิดหลายอย่าง เช่น กายมนุษย์เด็ก  7 ขวบนี้ ก็เป็นกายเรา แต่ไม่เหมือนเราในตอนนี้เลย มีเพียงความละม้ายกันเท่านั้น ไม่เหมือนแม้กระทั่งความคิดอ่าน แต่ก็เป็นกายเรา ตอนนี้เขาไปอยู่เสียที่ไหน ตอนนั้นเขายังไม่ได้เรียนวิชชาธรรมกาย เขาไม่มีโอกาสได้เดินวิชชา 18 กายเหมือนกับเราในตอนนี้ ทำอย่างไรกายของเราทั้งปวงจึงจะมีโอกาสมาเดินวิชชา 18 กายได้ ถึงตอนนี้ท่านจะเห็นความมากมายของธาตุธรรมแม้เป็นของเราเอง นี่แค่ชาตินี้ ยังมีชาติอื่นอีก การอธิษฐานเอากายมนุษย์ทุกกาลเวลาของเรามาเดินวิชชา 18 กายด้วย จึงต้องกระดิกจิตนึกเอามาให้หมด

วิชชา 18 กายสำคัญอะไรมากมายนัก ผมอยากให้พวกเราอ่านในปราบ 6 ตอนท้ายๆ ที่ว่า วิชชาสำคัญมีเพียง 2 อย่างคือ 1. วิชชา 18 กาย และ 2. วิชชาปราบมาร เปิดหาอ่านดูนะครับ


ตัวอย่างในข้อ 2 เรื่องการซ้อนกันเป็นชั้นๆ


ผมได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับการทำวิชชาของภาคเขา เราอาจมีความคิดต่อยอดหลายอย่าง เช่น


อย่ายึดถืออะไรเป็นกฏเกณฑ์ตายตัวจนเกินไป การซ้อนกันของวิชชาของเขาอาจสลับตำแหน่ง หรือมีเพิ่มเติมขยายความขึ้นอีกในตอนไหนก็ได้ เช่นวิชชาอธิษฐานกับปาฏิหาริย์ของเขา ก็อาจมีแทรกอยู่แทบทุกชั้น เราจึงต้องท่องดับอธิษฐาน ถอนปาฏิหาริย์ ไว้บ่อยๆ

เนื่องจากเขาเป็นผู้รุกราน เขาจึงมีวิชชาเชิงรุกมากมายมหาศาล เราได้แต่เดินวิชชาเพื่อแก้วิชชาของเขาเท่านั้น วิชชาเชิงรุกของเราแทบไม่มีเลย ยกเว้นเราจะพยายามฟื้นวิชชาของเราขึ้นมาเสียใหม่ เช่น วิชชาปิฎก วิชชาพรหมวิหาร วิชชาอิทธิบาท ให้มีโอกาสเข้ามาปกครองในเชิงรุกบ้าง

เขามีทีมงานที่เก่งฉกาจ และรู้หน้าที่ของตนเป็นอย่างดี ฝ่ายเราต้องพัฒนาให้มากขึ้น

เขาฉลาดรอบคอบ ไม่ทำวิชชาแค่ชั้นเดียว เก่งในการหลบหลีกมาแต่ไหนแต่ไร เรียกว่าเป็นมวยมาก่อน เราต้องเรียนรู้ศึกษาให้ทัน มิฉะนั้นเขาจะก้าวต่อไปถึงไหนๆ

เขาซ่อนกาย แต่เราไม่ซ่อน
ฯลฯ

ชักจะลึกมากขึ้น เอากันพอหอมปากหอมคอนะครับ