เราต้องเตือนกันบ่อยๆ ก็เรื่องนี้แหละ
เพราะไม่ว่าใครก็ขี้เกียจเดินวิชชาด้วยกันทั้งนั้น
ผู้ที่เป็นวิชชาก็ใช่ว่าจะมีความชอบที่จะจรดใจไว้กับวิชชาตลอด ความตอนนี้อาจไม่ตรงกับที่เราเคยเข้าใจมา
ก็ต้องชั่งกันอีกที
เหมือนตอนที่คุณลุงเคยบอกว่าเห็นพระพุทธองค์ร่ายรำด้วยความบันเทิง แล้วทำท่าให้เราดู
เราคงเข้าใจว่าคุณลุงแค่เปรียบเทียบ แต่ผู้ที่มีรู้ญาณก็ไปเห็นเช่นนั้นจริงๆ
เราเคยเข้าใจมาแต่เดิมว่าพระพุทธเจ้าต้องสงบสำรวม
อยู่ในท่านั่งสมาธิเข้านิโรธตลอดเวลา คงไม่มีอาการดังที่คุณลุงบอก
วิชชาธรรมกายหรือแม้พุทธศาสนา
เป็นวิชชาของการปฏิบัติ แม้เราจะรู้ปริยัติได้ลึกซึ้งปานใด หากไม่ปฏิบัติ ก็เป็นได้แค่โค้ชสอนนักกีฬาเท่านั้น
ลงแข่งเองไม่ได้เพราะศักยภาพทางกีฬาต้องเกิดจากการเล่นกีฬาด้วยตัวเอง รวมถึงความมีสุขภาพที่สมบูรณ์ที่รู้สึกสัมผัสได้
(Well being) ก็ต้องการการออกกำลังกายด้วยตัวเองเท่านั้น
ไม่ใช่การอ่านตำรากีฬา หรือตำราการออกกำลังกาย แต่เพียงอย่างเดียว
อยู่กับวิชชาทุกลมหายใจ
คุณลุงพูดไว้กับผม จะทำได้แค่ไหน ตั้งเป้าไว้ก่อน
นอกจากการเดินวิชชาภาคบังคับวันละ 2 ครั้ง คือเช้าตื่นนอน 1 ครั้ง และก่อนนอนอีก 1 ครั้ง แล้ว
เวลาเราอยู่ตามลำพัง เช่นอยู่เงียบๆ นั่งเล่นเฉยๆ หรือ เราหลับตาลงคราใด หรือ เรากำลังผ่อนคลายขณะทำท่าบริหารร่างกาย หรือ ขณะอาบน้ำ ฯลฯ ช่วงเวลาเหล่านี้ใจเราอยู่ที่ไหน? ถ้าช่วงใด เราเดินวิชชาได้ดี ตอนที่เราว่างจากภารกิจทั้งหลาย ใจเราอาจกำลังท่อง สัมมาอะระหัง หรือ หยุดในหยุด หรือ หมุนขวาในหมุนขวา หรือ แลบลั่นย่อยแยก ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่การเจริญวิชชาในช่วงนั้น แสดงว่าช่วงนี้ใจเราติดอยู่กับวิชชา แต่หากเป็นการปล่อยใจไปคิดเรื่องอื่นฟุ้งซ่านไป แสดงว่าช่วงนี้ใจเราไม่ติดกับวิชชา แทนที่เราจะปล่อยใจไปที่อื่นให้มันเสียไปเฉยๆ ทำไมจึงไม่เดินวิชชาเล่า เวลาเพียง 10 นาทีที่รอหมอฟัน เราอาจเดิน 18 กายได้อีกตั้งรอบหนึ่ง
ให้เห็นดวงธรรมของกายธรรมพระอรหัตต์
และกายธรรมพระอรหัตต์ใสแจ่มชัดทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่ว่าหลับตาลืมตา
เชียวนะ พักได้
บทท่องข้างบนมีความหมายชัดเจนอยู่แล้ว
ที่ผมอยากอธิบายเพิ่มเติมคือ เราต้องเดินวิชชาให้ได้ทุกขณะจนเป็นปกติ
จนสามารถลืมตาทำได้ ลืมตาท่องวิชชาได้ แม้จะไม่ละเอียดเท่าตอนหลับตา
แต่ก็ทำให้ใจเราติดอยู่กับวิชชา บางท่านบอกว่าลืมตาทำ วิชชามั่นคงกว่าหลับตาทำเสียอีก
ก็แล้วแต่ประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ผมเคยได้ยินครูบาอาจารย์ที่วัดปากน้ำ (หลวงน้า) เคยสอนผมไว้นานแล้วว่า
“วิชชาต้องฉลาดที่สุด และละเอียดที่สุด เมื่อไปถึงสุดละเอียดใด ให้ทำสุดละเอียดนั้นให้เป็นหยาบแล้วเดินวิชชาไปให้ถึงสุดละเอียดใหม่ รวมถึงการทำวิชชาต้องสามารถทำได้ทั้งที่เราลืมตาอยู่” ผมคิดว่าตรงกับที่เรามาอยู่กับคุณลุงในยุคนี้
จากข้างต้น แม้เราจะขับรถ
เราก็เดินวิชชาไปได้เรื่อยๆ ให้จบก่อน ก่อนที่เราจะเปิดหนัง เปิดเพลง เปิดวิทยุฟัง
เวลามีทุกข์ ภัย โรค เราคิดถึงการเดินวิชชาแก้ เป็นอันดับแรกหรือเปล่า?
ตอนมีทุกข์ภัยโรค เหมือนเราอยู่ในสภาพช่วยตัวเองไม่ได้
เราอาจลืมการแก้ไขทางวิชชา เรามัวแต่วิ่งวุ่นแก้ไขด้วยวิธีทางโลกๆ อย่างวุ่นวาย
เพราะคิดว่าต้องแก้ที่เหตุ แต่เราเห็นเหตุในระดับโลกๆ เท่านั้น ไม่ทันคิดถึงเหตุในส่วนละเอียด
หากเราฉุกคิดเพียงเล็กน้อย ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน แค่หาเวลาเดินวิชชา 18 กายซัก
10-20 นาที ผมเชื่อเหลือเกินว่า หนักต้องเป็นเบา จากนั้นจึงหาวิธีที่ลุ่มลึกขึ้น
เช่น
หากเหตุเกิดจากบุคคลจะแก้ด้วยวิชชาอะไรได้บ้าง
เอาความรู้มาเรียงดูตั้งแต่ อดีต ปัจจุบัน อนาคต ว่าควรแก้ด้วยวิชชาอะไร
ปัจจุบันครูบาอาจารย์แนะนำให้ทำอย่างไร วิชชาดั้งเดิมล้าสมัยไปหรือยัง
หากเดินวิชชาเหล่านี้จะเป็นการต่อตีนโจรหรือเปล่า ถ้าไม่แน่ใจจริงๆ การเดินวิชชา
18 กายให้มากเที่ยวจะปลอดภัยที่สุดสำหรับทุกคน และเป็นคำตอบในยุคปัจจุบัน
แก้กันไม่ได้จริงๆ จึงให้ครูบาอาจารย์ช่วย
เราเป็นศิษย์มีครู หากเราแก้ได้ด้วยการเดินวิชชาของเราเอง เราก็ไม่ต้องไปรบกวนครู
ท่านจะได้มีเวลาช่วยธาตุธรรมในส่วนลึกๆ เพราะบางครั้งปัญหามันเกิดจากการเดินวิชชาย่อหย่อนของเราเอง
พอเรากลับมาเดินวิชชาให้หนักมือขึ้น ปัญหาก็หมดไป
ก่อนจบ อย่าลืม
จงอยู่กับวิชชาทุกลมหายใจ